Climax คืออะไร หากแปลตาม Google หรือเปิด Dictionary ก็จะได้ความหมายว่า
[icon name=”hand-point-right” prefix=”fas”] จุดสุดยอด
[icon name=”hand-point-right” prefix=”fas”] จุดสำคัญ
[icon name=”hand-point-right” prefix=”fas”] ตอนสำคัญ
[icon name=”hand-point-right” prefix=”fas”] จุดสูงสุด
แล้วในเวลาเขียนเรื่องล่ะ เราเชื่อว่าทุกคนคงเคยผ่านตากันมาหมดแล้วว่ามันคือ #ช่วงเหตุการณ์สำคัญท้ายเรื่อง
ก่อนที่เรื่องทั้งหมดจะคลี่คลายลง และคนดูจะต้องรู้สึกเต็มอิ่มกันมัน
[icon name=”plus” prefix=”fas”] แปลว่ามันต้องเป็นฉากใหญ่รึ?
[icon name=”plus” prefix=”fas”] หรือมันต้องมันส์มากๆ ?
[icon name=”plus” prefix=”fas”] หรือมันต้องหักมุมหัวแตก?
ก็เป็นทั้งหมดที่ว่ามาได้ครับ มีแล้วก็ดี แต่ในความหมายของเรา
ช่วงเวลาไคลแม็กซ์ คือช่วงเวลาสำคัญที่ตัวละครหลักของเราได้เผชิญหน้ากับ
- ปมปัญหาหลัก
- อุปสรรคหลัก
- ตัวร้ายหลัก
- ความขัดแย้งหลัก
โดยที่เขาจะใช้สิ่งที่เขาเรียนรู้มาจากระหว่างทางเอามาจัดการสิ่งต่างๆที่เราพูดไปข้างต้น เพื่อให้เขาได้เกิดใหม่ และคลี่คลายปมทั้งหมด และมันสำคัญมาก เพราะนี่คือช่วงเวลาที่คนดูรอคอย
และหากจะให้ตัวเรื่องนวลเนียน มันจึงควรที่จะล้อกับส่วนที่เป็นเหตุการณ์เริ่มเรื่อง
(Event Plot Point) (Inciting Incident) อย่างเช่น
[icon name=”play” prefix=”fas”] หากเริ่มเรื่องมาเป็น พระเอกสืบหาความจริงเกี่ยวกับฆาตกรที่ฆ่าเมียของเขา
ในตอนไคลแม็กซ์เขาควรจะต้องจัดการกับฆาตกรคนนั้น (ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นคนเดียวหรือเป็นองค์กรอะไรก็ตาม)
[icon name=”play” prefix=”fas”] หากเริ่มเรื่องมาเป็น พระเอกจะไปประกวดวงดนตรี
ในฉากไคลแม็กซ์ก็ควรจะเป็นฉากงานประกวดวงดนตรี
[icon name=”play” prefix=”fas”] หากเริ่มเรื่องมาเป็น พระเอกต้องการบอกรักนางเอกผู้สูงส่ง
ไคลแม็กซ์ก็น่าจะเป็นฉากสารภาพรัก
[icon name=”play” prefix=”fas”] หากเริ่มต้นเรื่องที่ปมความขัดแย้งในครอบครัว เรื่องต้องพาเราไปที่จุดแตกหักของครอบครัว
ซึ่งผลจะเป็นอย่างไรเดี๋ยวค่อยว่ากัน..
ทั้งหมดที่ว่ามา มันคือจุดสุดท้ายที่คนดูอยากจะเห็น มันต้องเข้มข้น มันต้องทำให้เราเอาใจช่วย เพราะรู้ว่าจุดนี้คือจุดสุดท้ายแล้ว มันคือจุดแตกหักของเรื่อง อารมณ์ของคนดูต้องพุ่งขึ้นถึงขีดสุด
ช่วงเวลานี้ถ้าแบ่งตามสัดส่วนของเรื่อง มันจะเกิดขึ้นไม่ยาวมาก มันจะเริ่มจากท้ายองก์สอง หลังจากที่ตัวละครที่มืดแปดด้านหาทางออกไม่เจอ เจอทางตัน และเขาได้พบทางออก หรือได้เรียนรู้บางอย่าง เขารู้แล้วว่าเขาจะต้องจัดการเรื่องปมนั้นด้วยวิธีการอย่างไรจากสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มา
จากนั้นก็เข้าสู่องก์สามอย่างเป็นทางการครับ ตัวละครจะวิ่งไปสู่เป้าหมายนั้น ซึ่งก็เหมือนเดิม เราในฐานะคนเขียน ก็อย่าทำให้มันง่าย เมื่อเขาได้เผชิญหน้ากันแล้ว เราจึงมักได้เห็นเขาพลาดหนึ่งครั้ง แพ้หนึ่งทีอยู่บ่อยๆ เพราะว่าเราจะให้เขาใช้สิ่งที่เขาเรียนรู้มา หรือความสามารถที่เขาหลงลืมไป จัดการกับเรื่องนี้… และแน่นอนอีกไม่นานเราจะได้รู้ว่าเขาจะบรรลุเป้าหมายนี้หรือไม่
ซึ่งการบรรลุเป้าหมายนี้จะทำให้เกิดการเกิดใหม่ของตัวละครหลัก …หรือสังคมรอบข้าง ซึ่งนั่นคือความหมายของคำว่า #การเปลี่ยนแปลง ในเรื่อง
คำสั้นๆ แต่ต้องอธิบายยาวๆ เพื่อเราจะไม่ได้เกิดอาการหนังคนละม้วน หรือหัวไปทางหางไปทาง เริ่มอย่างหนึ่งจบอีกอย่างหนึ่งครับ