เป้าหมาย สำคัญต่อตัวละครอย่างไร

เป้าหมาย นี่คือสิ่งที่สำคัญมากๆ ในการเขียนตัวละครค่ะ

หนังหลายเรื่องให้ความสำคัญกับ ความขัดแย้ง แต่ลืมให้ความสำคัญกับ เป้าหมายของตัวละคร บางคนไม่รู้ว่าสิ่งนี้แหละ ที่ทำให้เรื่องของเราอ่อนแรง เรามาดูกันว่าทำไม

เพราะแท้จริงแล้ว เป้าหมายของตัวละครคือสิ่งที่คนดูจะเอาใจช่วยค่ะ  เราจะเอาใจช่วยให้ตัวละครคว้าเป้าหมายมาให้สำเร็จ ไม่ว่าเป้าหมายนั้นจะเป็นการทำเพื่อให้ได้บางอย่างมาครอบครอง หรือเป้าหมายเพื่อเอาตัวรอดจากบางสิ่ง

แต่จริงแล้ว เป้าหมายของตัวละครมีสองระดับที่หลายคนมักสับสนหรือบางทีเอามันมารวมกัน แล้วบางครั้งก็มุ่งไปผิดที่ เราลองมาดูเป้าหมายทั้งสองแบบกันว่ามันคืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร

เป้าหมายแบบแรก คือ DramaticNeed หรือบางที่อาจจะเรียกว่า Super Objective ส่วนนี้ถ้าเรียกให้ดีๆ มันเป็นเหมือนความใฝ่ฝันของตัวละครค่ะ เขาฝัน และหวัง และมีความอยากได้ มีความอยากมี หรือมีความอยากเป็นอยู่ แต่ติดตรงที่ว่ามีอะไรบางอย่างที่ทำให้เขาไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะไม่รู้ว่าจะทำยังไง หรือมีความอ่อนแอในบางเรื่อง หรือมีความน้อยเกินไปในบางสิ่ง หรืออาจจะเพราะมีบางสิ่งมากเกินไป ที่ว่ามานี้เป็นตัวขัดขวางไม่ให้เขาเติมเต็มความอยากได้ อยากมี หรืออยากเป็นของเขาค่ะ

เราจะเห็นส่วนนี้ได้ตั้งแต่เริ่มต้นเรื่องในส่วนของการปูพื้นตัวละคร ดังนั้นเวลาเราเขียนส่วนนี้จะต้องชัดค่ะ เช่น…

กัปตันอเมริกาใฝ่ฝันอยากจะรับใช้ชาติ แต่ติดที่ร่างกายผอมแห้งแรงน้อย

มาร์ตี้ แมคฟลาย ใน Back to the future อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ติดที่ว่าบ้านเขาทั้งบ้านเป็นบ้านห่วยแตก อยู่ในหมู่บ้านห่วยแตก

ลุค สกายวอล์คเกอร์ อยากออกเดินทางผจญภัยและเป็นคนที่ยิ่งใหญ่ แต่ติดที่เขาต้องช่วยลุงกับป้าทำไร่อยู่ที่ทาทูอีน

ตัว Dramatic need นี้มันจะ ไม่เปลี่ยนแปลง ไปตลอดทั้งเรื่องค่ะ บางบ้าง เบาบ้างแต่จะไม่เปลี่ยนแปลง

เป้าหมายแบบที่สอง คือ Goal หรือเรียกว่าเป็นภารกิจที่ตัวละครต้องทำค่ะ เป้าหมายแบบนี้จะเป็นรูปธรรม มักจะเกิดขึ้นหลังจากเมื่อเกิดเหตุการณ์สร้างเงื่อนไขให้ตัวละคร หรือในเชิงโครงสร้างที่เราเรียกกันว่า Plot Point เช่น

กัปตันอเมริกาจะต้องปราบ Red skull และช่วยโลกให้ได้

มาร์ตี้ แมคฟลาย จะต้องกลับมายังปัจจุบันให้ได้

ลุค สกายวอล์กเกอร์ จะต้องฝึกวิชากับโอบีวัน เพื่อเป็นอัศวินเจได

เป้าหมายแบบนี้ เปลี่ยนแปลง ได้ค่ะ อาจจะมีเป้าหมายใหญ่และเป้าหมายเล็กๆ ระหว่างทางได้

เป้าหมายแบบ Goal นี่เองที่เป็นรูปธรรมเพียงพอที่จะให้เราเอาใจช่วยตัวละครของเราได้ และพอเห็นเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมแล้ว เราก็จะสร้างอุปสรรค ศัตรู หรือความขัดแย้งขึ้นมาเพื่อให้ตัวละครของเราต้องฟันฝ่า และเมื่อตัวละครผ่านอุปสรรคจนได้เป้าหมาย(Goal)มาแล้ว หากเป็นเรื่องจบโลกสวย ความใฝ่ฝัน(Dramatic need)ของเขาจะได้รับการเติมเต็มจากการที่เขาสามารถเปลี่ยนแปลงส่วนที่เป็นจุดอ่อนแอ หรือข้อด้อยของเขาได้ แต่บางเรื่องก็อาจจะไม่เปลี่ยน แต่ตัวละครหรือคนดูจะได้เรียนรู้อะไรบางอย่างเสมอค่ะ

บทความที่ได้นำมาแบ่งปันนี้เป็นของพี่เมษ ยิ้มสมบูรณ์ ตอนท้ายได้ยกตัวอย่างภาพยนตร์เรื่องหนึ่งมาให้เห็นภาพกันค่ะ เรื่องนั้นคือ Harry Potter & The Sorcerers Stone

เริ่มต้นมาเราพอจะเลาๆ ได้ว่าแฮร์รี่น่าจะมีความปราถนาที่จะพบพ่อแม่ หรือไม่ก็ออกไปจากครอบครัวเดอร์สลีย์ (ส่วนนี้คือ Dramatic need) แต่เมื่อเขาได้พบกับแฮร์กริดและรู้ว่าตัวเองเป็นพ่อมด (ส่วนนี้คือ Plot point) จากนั้นแฮร์รี่ก็มาเรียน เจอเพื่อน เจอคน แต่ยังไม่มีการเกิด Goal ขึ้นค่ะ ไม่เกิดยาวเลยจนเกือบกลางเรื่องที่เขาจะพยายามพิสูจน์เรื่องสเนป กับเรื่องศิลาอาถรรพ์ของนิโคลัส แฟลมเมลล์ ซึ่งหนังก็พามาไกลและใช้เวลาเยอะพอสมควร แต่ที่ให้อภัยได้เพราะมันตามหนังสือมา และนี่เป็นครั้งแรกที่เราได้

บทความโดยพี่เมษ ยิ้มสมบูรณ์

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *