วันนี้คุณสนใจอยากเรียนเรื่องอะไร...

สายด้นสด vs สายวางโครงเรื่อง อันไหนดี

ตอนนี้รอบๆ ตัวเรามักจะเห็นนักเขียนอยู่สองสาย คือสายด้นสดกับสายวางโครง

ถามว่า แล้วแบบไหนถูกแบบไหนผิดกันล่ะ??

หากวัดที่ผลงาน ถ้ามันออกมาสนุก ลื่นไหล ไร้รอยต่อ ทอเต็มผืน หลับเต็มตื่น เก็ตแก่นสาร ไม่ว่าวิธีไหนมันก็ไม่ผิดค่ะ 

สายด้นสด

ข้อดี 

มันตื่นเต้น ลื่นไหล(รึเปล่า) ขั้นตอนไม่เยอะ มาถึงก็ตะลุยเขียน หากสิ่งพื้นฐานตัวละครและโลกของเรื่องที่อยู่ในหัวนี่มันเนียน ส่งตัวละครออกไปตะลุยด่านหน้าได้เลย แล้วปล่อยให้เขาพาเราไป พาเราไปตื่นเต้นเสมือนกับว่าเรานั่งดูการผจญภัยของเขาไปพร้อมๆกัน มันก็สนุกใช่เล่น… แล้วหากเราเสพมาเยอะ แม่นยำ เรื่องมันก็จะสนุกแบบสนุกกว่าที่เราคิดไว้ด้วยล่ะ เพราะเราเซอร์ไพร์สในทุกๆ รายละเอียดที่ตัวละครพาเราไปเผชิญ

ข้อเสีย

อย่าได้ตันเชียว ติดนี่คือยาว นึกออกป่ะ แล้วมันเป็นการเขียนแบบเรียงเรื่อง หากติดนี่วิ่งต่อไม่ได้ จริงๆ ตอนติดก็มีวิธีแก้หลายแบบนะ เช่น ย้ายไปเล่า Sub Plot เพิ่มอุปสรรค เพิ่มเป้าหมาย เผลอๆ เพิ่มตัวร้าย แต่ทีนี้พอเติมไปเยอะๆ มันก็มีโอกาสสูงที่เราจะพาเรื่องของเราไปเที่ยวมหาสมุทร แล้วบางทีแม้จะลากกลับมาได้ แต่กลายเป็นมีเงื่อนไขนุงนังเพิ่มเติมในระหว่างทางมาเป็นของแถมอีก

แล้วก็ …อย่าได้ทิ้งไว้นานๆ เพราะมันจะลืมว่าเราทำอะไรไปบ้าง ปูอะไรไว้ วางปมอะไรไว้ ปูไว้ไม่ได้ใช้ วางปมไม่ได้แก้ ไม่ใช่เพราะอะไร เพราะลืม… 

อีกอย่าง เรื่องอาจจะมีความลีลาการเล่าเรื่องต่ำหากชั่วโมงบินยังไม่สูง เล่าสลับเรื่อง ผ่าเหตุการณ์นี่อาจจะลำบากนิดนึง เพราะมันจะสวิงชิ้นส่วนไปมา ไม่แม่นจริงนี่อาจจะไปพบจุดผิดพลาดหลังจากที่เขียนไปไกลแล้วก็มี

สายวางโครง

ข้อดี

เนื่องจากเป็นการคิดแบบวางไว้ก่อน สิ่งแรกที่เราต้องมีคือต้องเข้าใจโครงสร้างว่าตรงไหนคืออะไร แล้วเราจะวางเรื่องราวของเราได้อย่างแม่นยำในจุดต่างๆ อย่างมีเหตุและผล เมื่อโครงสร้างแม่นทำให้เราคิดแบบจิ๊กซอว์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น

อีกอย่าง เวลาสร้างเรื่องแบบเป็นหมู่คณะ หรือว่าทำงานร่วมกับ บก. หรือว่าทำงานกับทีมผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ หากทุกคนเข้าใจโครงสร้าง จะทำให้จี้ปัญหาได้ถูกจุด จัดการกับการแก้ไขส่วนต่างๆ ได้ง่ายและแม่นยำขึ้น…

อีกเรื่องคือการจัดการกับโครงสร้างมันทำให้เราสร้างเรื่องที่หวือหวาเชิงการเรียบเรียงได้มากขึ้น เพราะเราเห็นตำแหน่งทั้งหมดในเรื่องของ ลองสลับนั่นดัดนี่ได้มากขึ้น

ข้อเสีย

บางทีมันก็อุ้ยอ้ายเมื่อขั้นตอนมันเยอะๆ แหละนะ บางทีหัวไปคิดบทสนทนาแล้ว แต่ยังจัดระเบียบ Plot อยู่เลย บางครั้งติดกับโครงสร้างมากๆ หากพลิกแพลงไม่ได้ ดีเทลไม่ดี ชั่วโมงบินยังน้อยอยู่อาจจะมีความคลิเช่ในเชิงโครงสร้างได้  เพราะมันมีความเป็นสูตรสำเร็จอยู่พอสมควร

หรือบางทีเราก็เน้นตัวพล็อตมากเกินไป แล้วไม่ละเอียดกับตัวละครหรือเซ็ตติ้ง มันก็เลยอาจจะมีความแห้ง หรือเลยเถิดดันตัวละครไปไม่ถึงเหตุการณ์แต่เราไม่รู้ก็เลยดันมันจนเกินไป เลยเป็นการบังคับไป จนพาไปสู่การข่มขืนตัวละครได้หรือบางครั้ง

เอาจริงๆ ผลงานดีๆ ที่เกิดจากทั้งสองวิธีก็มีมาให้เห็นเรื่อยๆ งั้นเราคงตอบจริงจังไม่ได้ขนาดนั้น งั้นเอาเป็นวิธีที่เราใช้เป็นปกติก็แล้วกัน

นั่นคือ “เราใช้ทั้งสองแบบร่วมกัน”

บางเรื่องก็วางโครงก่อน ตอนคิดดีเทลก็ด้นๆ แล้วก็กลับมาตบๆ ให้เข้ารูปเข้ารอย แล้วก็ไปด้นต่อ แล้วก็กลับมาจัดการกับโครงสร้างอีกครั้งสลับไปสลับมา จนเป็นขั้นตอนประมาณนี้

Create > Recheck > Rewrite > Create > Recheck > Rewrite 

ทำแบบนี้ในทุกๆ ขั้นตอนตั้งแต่วาง Lock Story Line > Plot > Out Line > Treatment > Scenario > ScreenPlay(เวลาเขียนบทหนังนะ) 

ถ้าเป็นนิยายก็จะเป็น Lock Story Line > Plot > Out Line > Treatment > Writing 

หรือบางครั้งนึกสนุกก็เขียนเรื่องสั้นแบบด้นสดบ้าง ปล่อยตัวละครลื่นไหลไปเรื่อยๆ จบแล้วค่อยกลับไปจัดการโครงสร้าง แบบนี้ก็มีครับ…

หรือบางครั้งก็เขียนเรื่องสั้นด้นสด One take Only แบบปล่อยไหลไปเรื่อยๆ เพื่อบริหารสมองส่วน Creative ให้ทำงานเยอะๆ ก็มีหลายครั้งครับ

เอาจริงๆ  ใครชอบสายไหนไปสายนั้น ตันติด ก็ลองมาอีกสายก็สนุกดี ไม่ได้มีอะไรผิดถูกจริงจัง ดังนั้น…ไม่ต้องเถียงกันเรื่องนี้หรอกว่าวิธีไหนดีกว่า ทุกอย่างมีส่วนดีและส่วนเสียเหมือนๆ กัน ลงมือเขียนก่อน แล้วเราจะค่อยๆ รู้เองว่าแบบไหนเหมาะกับเรา และเราสนุกกับมัน…

บทความจาก พี่เมษ ยิ้มสมบูรณ์ 

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า