วันนี้คุณสนใจอยากเรียนเรื่องอะไร...

มาทำความรู้จักผู้ช่วย บ.ก. และนักเขียนกับการใช้เครื่องมือ Story TOOLS ผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศการประกวดบทละครระดับประเทศ

เชื่อว่านักเขียนหลายคนคงต้องเคยประสบปัญหาเหล่านี้มาบ้าง มีเรื่องที่ชอบอยากเขียนอยู่ในหัว แต่เรียงลำดับไม่ได้ ไอเดียมากมาย ดันจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ดำเนินเรื่องยังไงถึงจะสนุกชวนให้ติดตาม ปัญหาเหล่านี้แม้แต่นักเขียนมืออาชีพเองก็ยังคิดไม่ตก ดังนั้นเครื่องมือดีๆ ที่จะไกด์ไลน์และปลดล็อคงานเขียนให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญ

            บทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จัก คุณนุช รำไพ ชวนไชยสิทธิ์ ชื่อในวงการเขียน Copter ผู้ช่วยบรรณาธิการที่โลดแล่นอยู่ในวงการงานเขียนมาสิบกว่าปี อยู่เบื้องหลังงานเขียนมากมาย รับหน้าที่คอยดูแล ตรวจสอบ แก้ไขงานเขียน ของสำนักพิมพ์กรีนมายด์, สำนักพิมพ์จัสมิน และเป็นอีกหนึ่งท่านที่ได้นำเครื่องมือ Story Tool ไปใช้ปรับโครง ทำให้คว้ารางวัลผู้ชนะหนึ่งในห้าคน ได้เป็นตัวแทนภาคเหนือในการประกวดบทละคร (การเล่าเรื่องให้เป็นละคร) ของสมาคมนักเขียนบทโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และยังเป็นนักเรียนของ Story BOWL ของเรา มาดูกันว่าคุณนุชพบเจออะไรในสายอาชีพนี้บ้าง และทำไมถึงยังคงมองหาการพัฒนางานของตัวเองกันค่ะ

            คุณนุชก้าวเข้ามาในเส้นทางนักเขียนได้อย่างไร?

            เพราะการเขียนนิยายมักเริ่มต้นจากการอ่าน จึงขอเล่าย้อนไปตั้งแต่สมัยม.ต้นเป็นคนชอบอ่าน เป็นคนที่อ่านนิยายเยอะมากรวมถึงดูละครด้วย ทำให้เกิดความชอบจึงอยากลองเขียน และได้ไอเดียมาจากการสมมติตัวตนว่าถ้าเราเป็นตัวละครในนั้น เราจะอยากให้เนื้อเรื่องเป็นยังไง ดำเนินไปแบบไหน เลยเหมือนการยืมเอาโครงเรื่องตรงนั้นมาตั้งต้นเขียนเป็นเรื่องของเรา ให้เพื่อนลองอ่านแล้วเพื่อนชอบเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้อยากเป็นนักเขียน

            จากนั้นก็ได้เข้าไปทำงานในวงการบันเทิง มีโอกาสไปตามกองถ่ายทำให้รู้สึกสนใจในบทละคร เคยอยากเรียนเขียนบทละครแต่ด้วยความที่ไม่มีพื้นฐานตอนนั้นจึงถูกปฏิเสธ ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้ย่อท้อลองค้นอินเตอร์เน็ตหาวิธีการเขียนนิยายและได้พบกับเว็บ forwriter ลองเข้าไปแล้วพบกับกลุ่มนักเขียนที่ตรงสไตล์เรา จึงได้เริ่มต้นเขียนและได้ลองเข้าร่วมแรลลี่ในหัวข้อเขียนนิยายจบในสามเดือน เราก็เขียนจบบ้างสองสามเรื่อง ไม่จบบ้างก็มี แต่ก็เป็นประสบการณ์ที่ดี ทำให้มีนิยายเรื่องแรกในชีวิต เรื่อง อยากมีรัก ลงขายใน  E-book

         แต่ก็ยังพบปัญหาในการทำงานสายอาชีพ…

เราเขียนนิยายแบบด้นสด เพราะตอนนั้นเราเริ่มงานเขียนจากศูนย์ จากการที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่มีหนังสือสอนเขียน ไม่มีครูสอน รู้โครงสร้างการเขียนนิยายหลวม ตัวละครไม่ลึก ไม่มีมิติ ไม่มีเรื่องย่อ มีแค่เรื่องในหัว แต่หลังจากมีประสบการณ์การเขียนมากขึ้น ปัญหาก็เปลี่ยนไป ต้องบอกก่อนว่าถนัดและชอบนิยายรัก ซึ่งนิยายแนวนี้มักจะไม่หวือหวา สนุก อมยิ้ม แต่เรียบเกินไป คนอ่านเดาเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ง่าย อ่านได้เรื่อยๆ แต่ไม่สะกดใจ ตอนนั้นอยากแก้ปัญหานี้มากและอยากพัฒนาตัวเองด้วย เลยลองไปเรียนตามคลาสต่างๆ ที่เปิดสอน แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์ ยังแก้ปัญหาของตัวเองไม่ได้ จนกระทั่งเห็นเพื่อนใน Facebook แชร์บทความของพี่เมษ ตอนนั้นเป็นเพจ MovieDIY เราลองอ่านแล้วตรงใจ เข้าใจง่าย เลยลองสมัครเรียนดู

         ได้อะไรเพิ่มจากการลองหาความรู้เพิ่มเติมบ้าง…

รู้สึกได้เลยว่ามันตอบโจทย์ความต้องการของเรา จากที่เป็นคนที่รู้หมดทุกอย่าง แต่เขียนไม่ได้ เหมือนมีเส้นบางๆ ขวางอยู่พอเรียนจบแล้วรู้เลยว่าจะจัดการกับตัวเองยังไง

         สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากนั้น?

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด คือ ได้ลองไปคุยกับน้องๆ และทุกคนก็บอกว่าการเล่าเรื่องของเราดีขึ้น เป็นขั้นตอนมากขึ้น พี่เมษสอนเข้าใจง่ายมาก อธิบายเห็นภาพ มีการยกตัวอย่างประกอบ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบด่วนสรุป ได้รู้จักการใช้ IDEA HIVE รู้จัก Tool ที่สามารถเชื่อมโยงไปได้หลายอย่าง นำไปใช้ได้จริง เข้าใจคำว่า Theme มากขึ้น สามารถลำดับก่อนหลังได้ จัดการกับไอเดียมากมายในหัวให้ลงตัว รู้ว่าจะต้องเลือกไอเดียไหน เพราะอะไร

         สิ่งที่เรียนรู้มาใช้กับงานที่ทำอยู่ได้ไหม อะไรที่ภูมิใจบ้าง

สิ่งที่ภูมิใจคือการนำความรู้และ Tool ที่เรียนมาไปปรับใช้กับการประกวดบทละคร (การเล่าเรื่องให้เป็นละคร) ของสมาคมนักเขียนบทโทรทัศน์แห่งประเทศไทยและคว้ารางวัลผู้ชนะหนึ่งในห้าคนประจำภาคเหนือมาได้ โดยนำแบบฟอร์มที่เรียนมามาใส่ข้อมูลดู แล้วก็ลำดับไล่เรียงเรื่องราวดูว่าเราคิดอะไรได้บ้าง ใส่ปมปัญหาของเรื่อง เพิ่มความต้องการของตัวละคร คิดไปใส่ไปแล้วก็เรียบเรียง ฟอร์มจะทำให้เราเล่าเรื่องได้ดีขึ้นมา มีความน่าสนใจขึ้น จะเห็นเลยว่าเป้าหมายตัวละครคืออะไร Theme คืออะไร เราต้องการจะบอกอะไรคนดู คนอ่าน Story TOOLS ช่วยได้เยอะมาก ทำให้ไม่สับสนอะไรก่อนอะไรหลัง

อีกเรื่องคือการเอาองค์ความรู้ไปใช้ในงานบ.ก. งานเราคือการช่วยอ่าน ช่วย Proof งานเขียนของน้องๆ นักเขียน สิ่งที่เรียนมาสามารถช่วยให้เราชี้จุดได้ว่างานเขียนชิ้นนี้ติดปัญหาตรงไหน ต้องแก้ยังไง ต้องปรับปรุงไปในทิศทางใด

น้องๆ นักเขียนหลายคนจะไม่ค่อยเข้าใจเรื่องคำว่า Theme แต่จะรู้ว่าเรื่องราวของตัวเองเป็นยังไง เราก็จะถามว่าเขียนเรื่องนี้ต้องการจะบอกอะไรคนอ่าน เป้าหมายของพระเอก นางเอก คืออะไร  ต้องจี้ถามเพื่อให้ตอบตรงนี้ออกมาให้ได้ จึงจะช่วยให้น้องๆ นักเขียนสร้างเรื่องราวให้มีมิติ สมเหตุสมผลมากขึ้น มีเป้าหมายชัดเจน

หลายๆ คนรวมถึงตัวเราเองมีประสบการณ์งานเขียนมาเยอะ แต่ยังขาดความมั่นใจ ยังหาจุดเด่นของนิยายตัวเองไม่เจอ จุดด้อยของเรื่องตัวเอง อ่านแล้วสนุก แต่ยังไม่ว้าว ไม่มีจุดพีคหรือขยี้ ช่วงไหนควรขยี้ ช่วงไหนควรจะเพิ่มตัวละคร หรือตัวละครควรจะทำอะไร ดังนั้นทุกครั้งที่จะเขียนเรื่องใหม่ๆ จะเอาแบบฟอร์มเป็นตัวตั้งและเขียนตามนั้นเลย ช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น ไวขึ้น เป็นความรู้ที่มีประโยชน์ทั้งต่อตัวเราเอง และคนอื่นที่สับสนหรือเจอปัญหาเดียวกับเรา

         คิดว่าความสำเร็จของตัวเองคืออะไร

สามารถแก้ปมในใจของตัวเองได้ แก้ไขจุดอ่อนได้ แล้วสามารถที่จะนำความรู้ไปสร้างเรื่องราวที่ทำให้คนสนใจ เล่าเรื่องได้ มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น

         อยากฝากอะไรกับคนที่กำลังพบเจอปัญหาเดียวกับเรา

อย่างที่ได้บอกไปข้างต้น เพราะการเขียนเริ่มจากการอ่าน จึงแนะนำว่าพยายามอ่านหนังสือเยอะๆ หลายๆ แบบ หลายๆ แนว แล้วลองเอาสิ่งที่ได้มาแก้ไข ลองเปิดใจฟังคำแนะนำจากหลายๆ คน แล้วนำคำเหล่านั้นไปปรับใช้ ไปพัฒนา แล้วจะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นใจขึ้น

อีกอย่างที่อยากบอกคือเครื่องมือ Story TOOLS ของ Story BOWL ใช้งานได้จริงนะ เวิร์คเลยแหละ สำหรับคนที่มีปัญหาด้านการเขียนและเป็นสายด้นสดที่ไม่มีอะไรเลยในหัว หากได้ลองใช้แล้วจากที่สมองตีบตันอยู่ก็จะทำให้มีเรื่องราวออกมาได้ แล้วก็จับเอาเรื่องราวเหล่านั้นมาทำเป็น Treatment ต่างๆ เครื่องมือของ Story BOWL จะจุดประกายไอเดีย ชี้ทางให้ลองไปทางนั้น ทางนี้ ลองจับคู่ตรงนั้น ลองจับคู่ตรงนี้ เป็นเหมือนถนนให้เราเลือกเดิน

นี่ไม่ได้อวยนะ แต่คือเราใช้เอง เรารู้เพราะเราเองมีปัญหาในการเขียนเยอะ คิดได้ คิดเก่ง แต่อยากคิดอยากเขียนให้ดีขึ้นไปอีก คนเราอย่าหยุดพัฒนา อย่าหยุดการเรียนรู้

ขอฝากอีกหนึ่งข้อคิด แม้ว่าเรารู้โครงสร้างดีขึ้นแล้ว จะประสบความสำเร็จขึ้นไหมเราตอบไม่ได้ แต่พัฒนาขึ้นอย่างแน่นอน เพราะคุณรู้โครงสร้าง คุณมีพื้นฐาน ถ้ามีฐานที่แน่น ก็จะนำไปสู่การต่อยอดองค์ความคิดโดยเริ่มเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว จากการดูหนัง ดูละคร จากการอ่านหนังสือ นำสิ่งเหล่านั้นมาวิเคราะห์ละลายให้เป็นไอเดียของตัวเอง จะทำให้สามารถไปต่อได้อย่างเป็นระบบ ไม่สะเปะสะปะ

การพัฒนามากขึ้นก็เป็นบันไดขั้นนึงที่ทำให้เราสำเร็จได้ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน การเรียน หรือแม้แต่การทำในสิ่งที่ชอบก็ตาม สามารถใช้ต่อยอดได้หมด..

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ นักเขียนสายด้นสด สายสมองตีบตัน รู้สึกว่าได้รับมุมมองดีๆ กันบ้างรึเปล่า ถ้าคุณก็เป็นหนึ่งในคนที่พบเจอปัญหาคล้ายๆ กันกับคุณนุช ก็อย่าลืมที่จะมองหาองค์ความรู้เพิ่มเติม เป็นจากบทความหรือหนังสือดีๆ สักเล่มก็ได้นะคะ หรือจะลองมาใช้ตัวช่วยสร้างเรื่องอย่างเครื่องมือของ Story BOWL ที่เปิดให้ทุกคนเข้าใช้ได้ฟรีดูก็ได้ค่ะ (Storybowl.co/tools)
ทางทีมงาน Story BOWL เองก็ไม่หยุดที่จะพัฒนาเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงคอยมองหาความรู้และเทคนิคดีๆ จากผู้มีประสบการณ์มาแชร์ให้อ่านกันแบบนี้เรื่อยๆ ค่ะ อีกนิดก่อนไป…ถ้าชอบบทความของเรา ก็ฝากกดแชร์และคอมเมนต์เป็นกำลังใจด้วยนะคะ

และขอฝากผลงานของ คุณนุช ไว้ด้วยนะคะกับเรื่อง ธาราร้อยดาว

สามารถกดที่นี่เพื่อไปยังผลงานนี้ใน MEB ได้เลยค่า

สัมภาษณ์โดย ทีมงาน Story BOWL

เรียบเรียงโดย ธัสษุภา (Cylinly)

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

บทความล่าสุด

หมวดหมู่บทความ

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า